ส่วนสูงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพและโอกาสทางอาชีพของผู้หญิงไทย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่หลายอาชีพมีเกณฑ์ความสูงเป็นคุณสมบัติพื้นฐานอย่าง นางแบบหรือแอร์โฮสเตส ทำให้พ่อแม่หลาย ๆ คนค่อนข้างเป็นกังวลว่าลูกสาวของคุณนั้น มีส่วนสูงที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ? การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิงไทยและการพัฒนาความสูงอย่างถูกวิธีจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทั้งวัยรุ่นและผู้ปกครอง บทความนี้จะช่วยไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการพัฒนาความสูงที่เหมาะสม
น้ำหนักและส่วนสูงมาตรฐานคืออะไร ?
น้ำหนักและส่วนสูงมาตรฐานเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญ ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการช่วยประเมินสุขภาพและการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะนิยมนำเอาค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) มาใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการคำนวณน้ำหนักของแต่ละบุคคลว่ามีความสมดุลกับส่วนสูงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิงไทยที่เหมาะสมอาจมีความแตกต่างกันออกไปตามลักษณะโครงสร้างของร่างกาย มวลกล้ามเนื้อ และปัจจัยทางด้านสุขภาพได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น การรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจึงไม่เพียงมีความสำคัญต่อการช่วยทำให้รูปร่างโดยรวมดูมีความสมส่วนมากยิ่งขึ้น แต่ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตโดยรวมให้ดียิ่งขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิง โดยเฉลี่ยเป็นอย่างไร ?
รายงานจากโครงการสำรวจและวิจัยมาตรฐานขนาดรูปร่างคนไทย (SizeThailand) ได้มีการระบุไว้ว่า ผู้หญิงไทยจะมีส่วนสูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 156.9 เซนติเมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ยที่ประมาณ 57.4 กิโลกรัม โดยค่าเฉลี่ยเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิงไทยในแต่ละภาคจะมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีรายงานจากกรมอนามัยระบุว่า ส่วนใหญ่แล้วเด็กไทยในระหว่างอายุ 6-14 ปี ค่อนข้างอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน โดยความสูงเฉลี่ยของเด็กผู้หญิงเมื่ออายุ 12 ปี ควรจะอยู่ที่ 158 เซนติเมตร แต่ปัจจุบันเด็กมักจะสูงเฉลี่ยเพียง 149.9 เซนติเมตร และเมื่อเข้าสู่วัยหยุดสูงความสูงควรจะอยู่ที่ 160-171 เซนติเมตร
กราฟแสดงความสูงของเพศหญิงอายุ 0-5 ปี คลิก
กราฟแสดงความสูงของเพศหญิงอายุ 6-19 ปี คลิก
ดังนั้นการกระตุ้นความสูงอย่างถูกวิธีและเหมาะกับช่วงวัยจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเด็กผู้หญิง เพราะมีเวลาน้อยกว่าเด็กผู้ชาย
ตารางเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิง ช่วงอายุ 10-18 ปี
คำแนะนำในการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงให้ลูก
การชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงให้กับลูกน้อยอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญในการช่วยให้คุณพ่อและคุณแม่สามารถติดตามเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิง รวมถึงพัฒนาการทางด้านร่างกายและสุขภาพโดยรวมของลูกน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในการชั่งน้ำหนักลูกน้อย คุณพ่อและคุณแม่ควรเลือกใช้เครื่องชั่งน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน และควรชั่งน้ำหนักในช่วงเวลาเดียวกันเพื่อให้ค่าที่ได้มีความแม่นยำมากที่สุด รวมถึงควรถอดรองเท้าและเสื้อผ้าที่มีความหนาออกก่อนเพื่อช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการชั่งน้ำหนัก และสำหรับการวัดส่วนสูงให้กับลูกน้อย คุณพ่อและคุณแม่ควรทำการวัดส่วนสูงในบริเวณที่มีพื้นแข็งและมีผนังที่ตั้งตรง และควรวัดส่วนสูงในช่วงเช้าเนื่องจากส่วนสูงในตอนเช้าจะมากกว่าช่วงเย็นเล็กน้อยเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของโลก
นอกจากนี้ คุณพ่อและคุณแม่ควรทำการบันทึกค่าที่ได้ลงในกราฟการเจริญเติบโต (Growth Chart) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามแนวโน้มและเปรียบเทียบน้ำหนักส่วนสูงของลูกน้อยกับเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิงอย่างต่อเนื่อง โดยหากพบว่าน้ำหนักหรือส่วนสูงของลูกน้อยต่ำกว่าหรือสูงเกินกว่ามาตรฐาน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติมในทันทีเพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่าลูกน้อยจะเติบโตได้อย่างสมวัยอย่างแท้จริง
วิธีคำนวณหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่สมส่วน
ค่าดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) เป็นค่าที่ถูกนำมาใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัวและส่วนสูง เพื่อช่วยประเมินว่าน้ำหนักของบุคคลนั้น ๆ อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิงไทยหรือผู้ชายไทยที่เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งสามารถคำนวณ BMI ได้จากสูตร BMI = น้ำหนัก (กิโลกรัม) ÷ (ส่วนสูง (เมตร)²)
โดยหากค่า BMI ที่ได้ออกมาอยู่ในช่วง 18.5–22.9 ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดจะถือว่ามีน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน หากต่ำกว่า 18.5 จะถือว่ามีความผอมเกินไป หากอยู่ในช่วง 23 – 24.90 จะถือว่าเริ่มมีภาวะน้ำหนักเกิน หากอยู่ในช่วง 25 – 29.90 จะถือว่าเริ่มเป็นโรคอ้วนระดับที่ 1 และหากมากกว่า 30 จะถือว่าเป็นโรคอ้วนระดับที่ 2
ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิงคนหนึ่งมีน้ำหนัก 55 กิโลกรัม และส่วนสูง 1.60 เมตร จะสามารถนำมาแทนค่าในสูตรได้ว่า BMI = 55 ÷ (1.60)² = 21.48 ซึ่งอยู่ในช่วงน้ำหนักปกติ
อย่างไรก็ตามแม้ว่า ค่า BMI จะเป็นค่าที่ถูกนำมาใช้คำนวณความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูงของแต่ละบุคคลอย่างแพร่หลาย แต่ค่า BMI ก็ยังมีข้อจำกัดในด้านของการที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างมวลกล้ามเนื้อและไขมันได้ ดังนั้น ผู้ที่มีกล้ามเนื้อเยอะหรือนักกีฬาจึงอาจมีค่า BMI สูงโดยที่ไม่ถือว่าเป็นโรคอ้วนได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้ว การคำนวณหาค่า BMI จึงควรทำควบคู่ไปกับการวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ของร่างกาย อาทิ เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และรอบเอว เพื่อช่วยทำให้การประเมินสุขภาพและเกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิงเป็นไปได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
เข้าใจและพัฒนาความสูงอย่างมีประสิทธิภาพ
การพัฒนาความสูงในผู้หญิงไทยต้องคำนึงถึงช่วงเวลาที่เหมาะสม เนื่องจากมีระยะเวลาการเจริญเติบโตที่สั้นกว่าผู้ชาย การเข้าใจเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการพัฒนาความสูงที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายที่เน้นการยืดกระดูก การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และการพักผ่อนที่เพียงพอ ทั้งนี้ควรเริ่มดูแลและกระตุ้นการเจริญเติบโตตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ข้อแนะนำที่ควรทราบ :
- เริ่มติดตามและกระตุ้นความสูงตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยรุ่น
- ควรปรึกษาแพทย์หากพบว่าส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
- การออกกำลังกายแบบยืดกระดูกควรทำอย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี
- ส่วนสูงที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ควรเปรียบเทียบกับผู้อื่นมากเกินไป
แต่หากผู้ปกครองดูแลโภชนาการลูกอย่างใกล้ชิดแล้วยังกังวลว่าส่วนสูงอาจไม่ตรงตามมาตรฐาน สามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการจากเราได้ เพราะด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี จึงออกแบบโปรแกรมเฉพาะบุคคล พร้อมดูแลเรื่องโภชนาการได้อย่างตรงจุด
คำถามที่พบบ่อย
Q: จริงหรือไม่ ? เด็กผู้หญิงจะ “หยุดสูง” เร็วกว่าเด็กผู้ชาย
ถึงแม้ว่าส่วนสูงนั้นจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมกับปัจจัยภายนอกอย่างอาหาร โภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแล้ว เรื่องของเพศสภาพก็มีผลต่อส่วนสูงเช่นกัน โดยเฉพาะความแตกต่างระหว่างเพศชายกับเพศหญิงที่ถึงแม้ว่าในวัยเด็ก เด็กผู้หญิงจะมีพัฒนาการในด้านความสูงที่เห็นได้ชัดกว่าเด็กผู้ชาย เช่น ในวัย 7-8 ปีที่ความสูงจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนแซงหน้าเด็กผู้ชาย แต่เมื่อไรที่เด็กผู้หญิงเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นหรือวัยสาว ประมาณ 12-13 ปีหรือหลังจากมีประจำเดือนครั้งแรก ความสูงจะค่อย ๆ เพิ่มช้าลงจนกระทั่งอายุประมาณ 16-18 ปี ก็จะหยุดสูง (แตกต่างกับเด็กผู้ชายที่ความสูงจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นและจะค่อย ๆ หยุดสูงที่อายุ 20-22 ปี)
Q : มีประจำเดือนแล้ว จะหยุดสูงหรือไม่ ?
A : ในวัยเด็กนั้นเด็กผู้หญิงจะมีอัตราการเติบโตของร่างกาย หรือ ‘ตัวยืด’ มากกว่าเด็กผู้ชายมากในช่วงอายุ 8-11 ปี เนื่องจากเด็กผู้หญิงจะมีการหลั่ง Gonadotropins hormone จากต่อมใต้สมอง ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นรังไข่ให้ผลิต Estrogen hormone ซึ่งทำให้ร่างกายของเด็กผู้หญิงมีพัฒนาการอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 1 ปี และเมื่อร่างกายผลิต Estrogen hormone ออกครบกำหนดก็จะทำให้เกิดประจำเดือนออกมา ซึ่งเมื่อหลังจากมีประจำเดือนแล้วกระดูกที่เคยพัฒนาอย่างรวดเร็วก็จะค่อย ๆ ช้าลงทำให้สูงช้า และกระตุ้นยากกว่าเดิม แต่หากได้รับการกระตุ้นที่ถูกวิธีก็สามารถกระตุ้นให้สูงต่อไปอีกได้อีก
อ่านรีวิวคอร์สเพิ่มความสูงของ “เมดิก้าเซ็นเตอร์” ได้ที่นี่
อยากสูง…ปรึกษาเราได้
เมดิก้า เซ็นเตอร์ (Medica Center) เพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีและสูงขึ้นเห็นผลทันทีในครั้งแรก!! ที่ใช้เทคนิคการเพิ่มความสูงด้วยวิธีการทางการแพทย์ ไม่ต้องเข้าผ่าตัด แต่เป็นการเพิ่มความสูงด้วยการทำกายภาพ เมดิก้าเซ็นเตอร์ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลักใหญ่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้สง่าและดูดี เพิ่มโอกาสสูงได้สูงสุดทันที 1-5 cm. ผลจริง ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการประสบการณ์ด้านการปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูงมายาวนานมากกว่า 15 ปี สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เลยวัยพัฒนาการทางร่างกายแล้ว แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ความปรารถนาที่จะมีส่วนสูงในฝันนั้นอาจจะอยู่ใกล้กว่าที่คุณคาดคิด
ที่ตั้ง : 2358 ชั้น 4 ถ.สุขุมวิท แขวง บางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพ
เนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจ
แคลเซียมแอล-ทรีโอเนต Calcium l-Threonate คืออะไร ? แตกต่างจากแคลเซียมชนิดอื่นอย่างไร ?
ลูกเสี่ยงกระดูกปิด ยังเพิ่มความสูงได้ไหม
เล่นโยคะเพิ่มความสูงได้จริงไหม เล่นท่าไหนถึงได้ผลดี
เช็กด่วน ! สัญญาณหยุดสูงผู้ชายและผู้หญิงมีอะไรบ้าง
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้หญิง 2568
เกณฑ์น้ำหนักส่วนสูงผู้ชาย 2568
แนะนำ 7 เมนูอาหารโปรตีนสูง เหมาะสำหรับคนอยากสูง
10 นมเพิ่มความสูง แหล่งแคลเซียมชั้นดีใกล้ตัว ช่วยเพิ่มโอกาสสูงได้ง่าย ๆ
ปรึกษาทีมแพทย์ฟรี คลิกที่นี่