Growth hormone คืออะไร? ช่วยเรื่องเพิ่มความสูงอย่างไร

Growth hormone โกรทฮอร์โมน คือ อะไร

หลายคนยังไม่เข้าใจว่าโกรทฮอร์โมน คืออะไร เกี่ยวข้องกับความสูงอย่างไร มีการทำงานอย่างไร แล้วเพราะอะไรร่างกายจึงขาดไม่ได้ หากมีน้อยหรือขาดไปจะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะมาอธิบายหน้าที่ของฮอร์โมนชนิดนี้ให้ฟังกัน

โกรทฮอร์โมนคืออะไร สำคัญต่อพัฒนาการของร่างกายอย่างไร?

โกรทฮอร์โมน คือฮอร์โมนหลักที่ผลิตจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะในร่างกาย รวมถึงการเจริญเติบโตและการสร้างเซลล์ใหม่ ซึ่งในแต่ละช่วงอายุนั้นจะมีการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาไม่เท่ากัน แต่จะหลั่งมากที่สุดในช่วงอายุวัยเด็กและวัยรุ่นมากที่สุดแล้วจะค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ

ฮอร์โมนชนิดนี้สำคัญกับช่วงวัยเด็กมาก เพราะเป็นวัยที่ร่างกายกำลังมีพัฒนาการของกระดูกซึ่งถ้าได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมต่อการผลิตโกรทฮอร์โมน ก็จะทำให้คนคนนั้นมีรูปร่างที่สมส่วน เติบโต สูงสมวัย ไม่แคระแกร็น มีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ภูมิต้านทานดีเยี่ยม และช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางสมอง คงความหนุ่มสาวไว้ได้อย่างที่เราต้องการ

โกรทฮอร์โมนทำงานอย่างไร? 

โกรทฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาจะถูกส่งไปยังตับเพื่อเปลี่ยนเป็นสารคล้ายอินซูลิน (Insulin-like growth factor-1 หรือ IGF-1) หรือโซมาโตเมดิน (Somatomedin) นำไปใช้ในร่างกายเพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ เพิ่มความสูง และช่วยควบคุมปริมาณไขมันที่ซ่อมแซมเนื้อเยื่อและกระดูกได้ 

จากการวิจัยจากวารสารทางการแพทย์นิวอิงแลนด์ (New England) พบว่า การทดลองให้คนอายุ 65 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับ HGH และกลุ่มที่ไม่ได้รับ HGH ผลคือ กลุ่มที่ได้รับ HGH ทำให้ผมที่เคยหงอกลดลง ผมเริ่มกลับมาดกดำขึ้น ในบางรายมีการลดลงของรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้าและตามร่างกาย อีกทั้งมีสมรรถภาพทางเพศที่เพิ่มขึ้นด้วย ความเสื่อมจากความชราลดลง ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับ HGH จะมีความชราตามปกติโดยไม่มีการฟื้นฟูที่ดีขึ้น

โกรทฮอร์โมน คือ อะไร

โกรทฮอร์โมนกับการเพิ่มความสูง

กระบวนการเจริญเติบโตและการเพิ่มความสูงมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับโกรทฮอร์โมน โดยฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนที่แผ่นเจริญ (Growth Plate) ซึ่งอยู่บริเวณปลายกระดูกยาว ทำให้กระดูกมีการยืดยาวออกไป ส่งผลให้ร่างกายสูงขึ้น

ช่วงอายุที่สำคัญที่สุดสำหรับการเพิ่มความสูงคือช่วง 8-18 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีการหลั่งโกรทฮอร์โมนมากที่สุด โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่นที่มีการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด (Growth Spurt) ซึ่งเด็กผู้ชายอาจสูงขึ้นได้ถึง 10-12 เซนติเมตรต่อปี และเด็กผู้หญิงอาจสูงขึ้น 8-10 เซนติเมตรต่อปี

โกรทฮอร์โมนมีประโยชน์อย่างไร? ทำไมถึงสำคัญกว่าแค่เพิ่มความสูง 

เมื่อโกรทฮอร์โมนคือฮอร์โมนที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาการและความแข็งแรงของร่างกาย โกรทฮอร์โมนจึงไม่เพียงแต่ช่วยในเรื่องการเพิ่มความสูง แต่ยังมีผลดีต่อสุขภาพโดยรวมอีกด้วย อาทิ

  • ช่วยลดไขมันและควบคุมน้ำหนัก : โกรทฮอร์โมนช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันสะสม และช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายมีรูปร่างที่กระชับ
  • ส่งเสริมสุขภาพจิต : มีผลคล้ายยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) โดยไม่มีผลข้างเคียง ช่วยลดความเครียด เพิ่มสมาธิ ฟื้นฟูความจำ และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้
  • เพิ่มประสิทธิภาพการออกกำลังกาย : ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้มีความอึดและความทนทานมากขึ้นในการออกกำลังกาย
  • ฟื้นฟูผิวพรรณและชะลอความเสื่อม : ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของผิว ทำให้ผิวเรียบเนียน ชุ่มชื้น ลดรอยเหี่ยวย่นและริ้วรอย
  • ป้องกันโรคกระดูกพรุน : ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง ไม่เปราะบางหรือแตกหักง่าย
  • ส่งเสริมสุขภาพหัวใจ : ช่วยกระตุ้นการสูบฉีดเลือดของหัวใจ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง ลดความดันโลหิตสูง และปรับสมดุลคอเลสเตอรอล
  • เร่งการฟื้นฟูบาดแผล  : กระตุ้นการสังเคราะห์คอลลาเจนซึ่งช่วยในการหายของบาดแผล ฟื้นฟูการยึดติดของกระดูกในผู้ป่วยกระดูกหัก และช่วยรักษาบาดแผลจากไฟไหม้หรือแผลผ่าตัด

ปัญหาจากการขาดโกรทฮอร์โมน

เมื่อร่างกายขาดโกรทฮอร์โมน จะเกิดปัญหาหลายอย่างที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ได้แก่

  • ปัญหาเส้นผม : ผมเริ่มหงอก ร่วง หรือบางจนเกือบล้าน
  • ปัญหาผิวพรรณ : ผิวหนังขาดความยืดหยุ่น แห้งกร้าน ไม่ชุ่มชื้น
  • ริ้วรอยเหี่ยวย่น : เกิดจากการที่คอลลาเจนซึ่งช่วยให้ผิวเต่งตึงลดน้อยลง
  • ปัญหาสายตา : เกิดสายตายาว การมองใกล้จะไม่ชัด และสายตาอาจฝ้าฟางตามอายุที่เพิ่มขึ้น
  • ระบบต่างๆ เสื่อมถอย : การเผาผลาญ การได้ยิน ความจำ และกล้ามเนื้อเริ่มเสื่อมถอยลง
  • การเจริญเติบโตผิดปกติ : ในเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนอาจมีรูปร่างเล็ก ตัวเตี้ย หรือเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน

วิธีเพิ่มโกรทฮอร์โมนตามธรรมชาติ

1. ลดการบริโภคน้ำตาล

สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มความสูง จำเป็นที่จะต้องลดการทานหวานให้น้อยลง เพราะในน้ำตาลมีสารที่ชื่อว่า “อินซูลิน” ซึ่งมีผลต่อการหลั่งโกรทฮอร์โมน หากอินซูลินในเลือดมีจำนวนเยอะเกินไป จะเข้าทำปฏิกิริยาต่อต่อมใต้สมองส่งผลให้หลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ออกมาน้อยลง

เลือกรับประทานอาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ (Low Glycemic Index) เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผักใบเขียว และโปรตีนคุณภาพดี ซึ่งจะช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ไม่ให้มีการหลั่งอินซูลินมากเกินไป

2. ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี

การออกกำลังกายเป็นประจำ ส่งผลให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยให้กล้ามเนื้อและมวลกระดูกมีการพัฒนาไม่ฉีดขาดหรือเปราะแตกง่าย การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความสูงควรเน้นกีฬาที่ต้องใช้ทักษะการกระโดดและยืดตัว เช่น:

  • กระโดดเชือก : กระตุ้นการยืดของกระดูกและกล้ามเนื้อขา
  • กระโดดตบ : ช่วยยืดกล้ามเนื้อแขนขาและกระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก
  • กระโดดแตะพื้นที่สูง : เป็นการยืดกล้ามเนื้อและกระดูกทั้งช่วงบนและล่างของร่างกาย
  • บาสเกตบอล : การกระโดดขึ้นชู้ตและการกระโดดบล็อกช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตในแนวดิ่ง
  • ว่ายน้ำ : ช่วยยืดกระดูกสันหลังและเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย

ควรออกกำลังกายให้ถูกท่าและถูกวิธีเป็นประจำทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 30 นาทีขึ้นไป โดยการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา (HIIT) จะช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนได้มากกว่าการออกกำลังกายแบบเบาต่อเนื่อง

3. รับประทานอาหารให้เป็นเวลา

สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มความสูง ควรที่จะรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและไม่ควรทานอาหารและของว่างใด ๆ หลัง 18.00 น. เนื่องจากอาหารที่ทานเข้าไปมีระดับของอินซูลินที่สูง ทำให้ขัดขวางการหลั่งโกรทฮอร์โมน

นักโภชนาการแนะนำว่า ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนคุณภาพสูง เช่น:

  • ไข่
  • นม และผลิตภัณฑ์จากนม
  • เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน
  • ถั่วและธัญพืช
  • ปลาทะเลน้ำลึก

ซึ่งหากหิวจนทนไม่ไหวจริง ๆ ในช่วงกลางคืน แนะนำให้ดื่มนม หรือนมถั่วเหลืองที่มีฉลากระบุว่า น้ำตาล 0% เท่านั้น เพราะจะไม่ไปรบกวนการหลั่งโกรทฮอร์โมนในช่วงกลางคืน

4. นอนหลับให้เพียงพอและมีคุณภาพ

วิธีที่เหมาะสมสำหรับการเพิ่มจำนวนการหลั่งของฮอร์โมนชนิดนี้ที่ดีที่สุด นั่นก็คือการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากโกรทฮอร์โมนจะหลั่งออกมาเฉพาะเวลาที่ร่างกายพักผ่อนแบบหลับสนิทเท่านั้น

การนอนหลับที่มีคุณภาพควรมีลักษณะดังนี้:

  • นอนในห้องที่มืดสนิท : แสงสว่างจะรบกวนการหลั่งเมลาโทนิน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการหลั่งโกรทฮอร์โมน
  • นอนในห้องที่เงียบสงบ : เสียงรบกวนจะทำให้การหลับไม่สนิท
  • ควรนอนก่อน 22.00 น. : ช่วงเวลา 22.00 น. – 02.00 น. เป็นช่วงที่ร่างกายหลั่งโกรทฮอร์โมนมากที่สุด
  • นอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน : สำหรับผู้ใหญ่ และ 9-11 ชั่วโมงสำหรับเด็กและวัยรุ่น
  • หลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน : แสงสีฟ้าจากหน้าจอจะยับยั้งการหลั่งเมลาโทนิน

โกรทฮอร์โมนหลั่ง หรือหยุดหลั่งเมื่อไร?

โดยปกติแล้วโกรทฮอร์โมนจะหลั่งในเวลาที่นอนหลับสนิทเท่านั้น ดังนั้นหากต้องการให้หลั่งได้ดีควรจะนอนให้มีคุณภาพ ซึ่งจะหลั่งได้ดีในช่วงอายุ 8-18 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเจริญเติบโต จากนั้นจะค่อยๆ หลั่งลดลงเรื่อยๆ

การหลั่งโกรทฮอร์โมนจะเกิดขึ้นเป็นพัก ๆ ตลอดทั้งวัน แต่การหลั่งที่มากที่สุดจะเกิดขึ้นในช่วงการนอนหลับลึก (Deep Sleep หรือ Slow Wave Sleep) ประมาณ 1-2 ชั่วโมงหลังจากเข้านอน โดยจะหลั่งออกมาเป็นชุด ๆ (Pulses) ประมาณ 6-10 ครั้งต่อคืน

อาหารที่ช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน

นอกจากการปฏิบัติตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว การเลือกรับประทานอาหารบางชนิดยังช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนได้อีกด้วย ได้แก่:

  1. อาหารที่มีกรดอะมิโนอาร์จินีน (Arginine) : เช่น ถั่วต่าง ๆ งา เนื้อสัตว์ ไข่ และอาหารทะเล
  2. อาหารที่มีกรดอะมิโนไลซีน (Lysine) : เช่น เนื้อไก่ ปลา ไข่ ถั่วเหลือง และเมล็ดฟักทอง
  3. อาหารที่มีซิงค์ (Zinc) : เช่น หอยนางรม เนื้อวัว เมล็ดฟักทอง และงา
  4. อาหารที่มีวิตามินดี (Vitamin D) : เช่น ปลาทะเลน้ำลึก ไข่แดง และอาหารเสริมวิตามินดี
  5. อาหารที่มีแมกนีเซียม (Magnesium) : เช่น ผักใบเขียว อัลมอนด์ และเมล็ดทานตะวัน

ผลิตภัณฑ์เสริมโกรทฮอร์โมนควรใช้หรือไม่?

ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมหลายชนิดที่อ้างว่าช่วยกระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน แต่ต้องระมัดระวังในการใช้ เนื่องจาก

  • ผลิตภัณฑ์เสริมไม่ได้รับการรับรองจาก อย. ทุกชนิด : บางผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนประกอบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
  • ผลข้างเคียง : การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมโกรทฮอร์โมนอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ปวดข้อ บวมน้ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง
  • ไม่จำเป็นสำหรับคนทั่วไป : ร่างกายสามารถผลิตโกรทฮอร์โมนได้เองตามธรรมชาติ หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม

การรับประทานฮอร์โมนเสริมควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และมักจะใช้ในกรณีที่ร่างกายขาดฮอร์โมนอย่างรุนแรงเท่านั้น

เมดิก้า เซ็นเตอร์ ปรึกษาเรื่องฮอร์โมนนี้อย่างเหมาะสม

โกรทฮอร์โมน คือฮอร์โมนสำคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำทั้ง 4 ข้อข้างต้น ได้แก่ ลดน้ำตาล ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้เป็นเวลา และนอนหลับให้เพียงพอ เป็นวิธีธรรมชาติที่ปลอดภัยและได้ผลในการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนนี้ แต่สำหรับใครที่มีความกังวลเกี่ยวกับความสูงและฮอร์โมน สามารถมาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญที่มีประสบการณ์กว่า 20 ปีจากเราได้

 


อ่านรีวิวคอร์สเพิ่มความสูงของ “เมดิก้าเซ็นเตอร์” ได้ที่นี่

อยากสูง…ปรึกษาเราได้

เมดิก้า เซ็นเตอร์ (Medica Center) เพิ่มโอกาสสูง ปรับบุคลิกภาพให้ดูดีและสูงขึ้นเห็นผลทันทีในครั้งแรก!! ที่ใช้เทคนิคการเพิ่มความสูงด้วยวิธีการทางการแพทย์ ไม่ต้องเข้าผ่าตัด แต่เป็นการเพิ่มความสูงด้วยการทำกายภาพ เมดิก้าเซ็นเตอร์ใช้หลักการแพทย์แผนปัจจุบันเป็นหลักใหญ่ในการกระตุ้นการสร้างเซลล์กระดูกอ่อน รวมถึงการปรับโครงสร้างของร่างกายเพื่อเพิ่มบุคลิกภาพให้สง่าและดูดี เพิ่มโอกาสสูงได้สูงสุดทันที 1-5 cm. ผลจริง ปลอดภัย ไม่เจ็บตัว ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาจากแพทย์และทีมงานผู้ชำนาญการประสบการณ์ด้านการปรับบุคลิกภาพเพิ่มโอกาสสูงมายาวนานมากกว่า 15 ปี สามารถทำได้ทุกเพศทุกวัย แม้ว่าจะอยู่ในช่วงอายุที่เลยวัยพัฒนาการทางร่างกายแล้ว แต่อย่าเพิ่งหมดหวัง ความปรารถนาที่จะมีส่วนสูงในฝันนั้นอาจจะอยู่ใกล้กว่าที่คุณคาดคิด

ที่ตั้ง : 2358 ชั้น 4 ถ.สุขุมวิท แขวง บางจาก เขต พระโขนง กรุงเทพ

 


เนื้อหาอื่นๆที่น่าสนใจ